Check list บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และตรวจรับรองระบบไฟฟ้าที่คุณควรรู้

ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน และอาคารต่างๆ ซึ่งการตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่ง และเป็นหน้าที่สำหรับวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างเทคนิคไฟฟ้าที่ต้องคอยตรวจสอบ และตรวจรับรองระบบไฟฟ้าให้เป็นไปตามกฏหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้มีความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอยู่เสมอที่เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสภาพของระบบไฟฟ้าให้มีสภาพที่สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา โดยการบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าสามารถทำได้ 2 วิธีคือ การตรวจด้วยระบบไฟฟ้าด้วยสายตา และการตรวจด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งจะแบ่งการตรวจสอบเป็นอีก 2 ส่วนคือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบอุปกรณ์แต่ละรายการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั่วไป

เป็นการตรวจสอบสภาพทั่วไป โดยเป็นการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างง่าย แต่ต้องทำโดยผู้ตรวจรับรองระบบไฟฟ้าต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้า และมีการป้องกันเป็นอย่างดี ซึ่งจะตรวจสอบดังนี้

  • สายไฟฟ้า
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์
  • ขั้วต่อ หรือจุดต่อสาย
  • การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า
  • การระบายอากาศ และท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • แบตเตอรี่

 

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

เป็นการตรวจสอบความผิดปกติ ความเสื่อมสภาพ จุดบกพร่องของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยการบันทึกค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลเพื่อหาแนวทางปรับปรุง แก้ไขซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องตรวจอุปกรณ์ขนาดจ่ายไฟผู้ตรวจรับรองระบบไฟฟ้าต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งลองมาดูรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ดังนี้

  • หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
    • ตัวถังหม้อแปลง
    • การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง
    • สารดูดความชื้น
    • ป้ายเตือนอันตราย
    • พื้นลานหม้อแปลง
    • เสาหม้อแปลง
    • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
    • ตรวจสภาพหม้อแปลงและการติดตั้งอื่น
  • ตู้เมนสวิตซ์
    • สภาพของระบบสายดิน และการต่อหลักดิน
    • บริเวณโดยรอบตู้ และตัวตู้
    • ความผิดปกติทางกายภาพ
    • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
    • การตรวจอื่นๆ
  • แผงย่อย
    • ระบบต่อลงดิน
    • บริเวณโดยรอบ
    • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
    • การตรวจอื่นๆ
  • สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ (สามารถตรวจสอบเฉพาะในพื้นที่อันตราย)
    • พื้นที่ติดตั้ง
    • พื้นที่ติดตั้ง
    • สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า
    • บริเวณโดยรอบอุปกรณ์
    • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
    • การตรวจอื่น ๆ
  • โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง
    • การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ
    • หลอดไฟและขั้วหลอด
    • สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
    • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม
    • การตรวจอื่น ๆ


ความถี่ในการตรวจสอบระบบ และบำรุงรักษา

โดยความถี่ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และการตรวจรับรองระบบไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน โดยปกติจะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะมีปัจจัยในการพิจารณาอื่นๆ ดังนี้

  • การกัดกร่อนของบรรยากาศ

  • สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง
  • อุณหภูมิโดยรอบและความชื้น
  • ความถี่ในการทำงาน
  • ความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)

สุดท้ายคือการตรวจสอบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าต้องดำเนินการโดยวิศวกร หรือช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ และต้องได้รับการรับรองจากผู้ที่ผ่านการรับรอง 

การใช้ บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า


หากโรงงาน หรืออาคารของท่านไม่มีทีมงานที่สามารถดำเนินงานได้ ในปัจจุบันมีบริษัทที่รับบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ที่มีทีมงานมืออาชีพพร้อมเครื่องมือที่พร้อมให้บริการนะครับ แนะนำให้เลือกใช้บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในการบริหารจัดการเรื่องหลักๆ เลยทีเดียวครับ

หากท่านสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในการตรวจสอบ และตรวจรับรองระบบไฟฟ้า  KG Engineering มีบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และยินดีให้คำปรึกษาฟรี