สิ่งควรรู้ก่อนติดตั้ง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)

อัคคีภัยเป็นอันตรายรุนแรงที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะอาจก่อให้เกิดทั้งการเสียชีวิต และทรัพย์สินกับทุกท่าน เพราะฉะนั้น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือระบบเตือนไฟไหม้จึงเป็นระบบที่ทุกวันนี้มีอยู่ในทุกอาคาร เพื่อแจ้งเตือนก่อนเกิดอัคคีภัยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ลองมาดูสิ่งที่น่ารู้ต่างๆ ก่อนติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้กันครับ

ข้อดีของ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ในอาคาร (Fire alarm system)

ในเวลาที่เกิดอัคคีภัยจะเห็นกลุ่มควัน และเปลวเพลิงขนาดใหญ่ จะทำให้กลุ่มคนที่อยู่ภายในอาคารเกิดอาการตื่นตระหนกจนบางคนคิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ถูกจนจมอยู่ในกลุ่มควัน สูดดมควันจนหมดสติหรือกระทั่งเสียชีวิต หรือบางคนอาจวิ่งหนีจนได้รับบาดเจ็บ ถ้าเราติดตั้งระบบเตือนไฟไหม้จะสามารถแจ้งเตือนไฟไหม้ได้ก่อนที่จะเกิดเหตุขึ้น ทำให้ผู้ที่อยู่ในอาคารมีเวลาที่จะวางแผนในการหนีออกจากพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย และสามารถแจ้งเหตุดับเพลิงให้ทันก่อนการลุกลามของไฟได้
 

อุปกรณ์ในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system equipment)

การทำงานของระบบแจ้งเหตุไฟไหม้จะเริ่มต้นด้วยอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ และตรวจจับความร้อน จากนั้นจะส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ควบคุมการทำงานหลักเพื่อส่งสัญญาณต่อไปยังอุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้ ลองมาดูรายละเอียดในแต่ละส่วนกันครับ
 

1.อุปกรณ์ตรวจับสัญญาณเพลิงไหม้ (Fire alarm detector)

ติดตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ภายในอาคาร ซึ่งใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ และใช้กระแสไฟฟ้าจากอุปกรณ์จ่ายไฟสำรอง (Battery backup) ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- อุปกรณ์ตรวจจับ (Detector equipment) ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการตรวจจับได้ตามสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat detector) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame detector)

- อุปกรณ์สัญญาณเตือนแบบกดใช้ (Manual pull station)  ที่ต้องใช้คนในการกดสัญญาณ โดยสามารถดึงหรือทุบกระจกเพื่อส่งสัญญาณแจ้งเตือนไฟไหม้ได้
- อุปกรณ์รับสัญญาณ (Monitor module) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับแล้วส่งสัญญาณต่อไปที่ตู้ควบคุมหลัก


2.อุปกรณ์ควบคุมสัญญาณหลัก

เป็นอุปกรณ์เสมือนหัวใจของ Fire alarm system เพราะมีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับที่ติดตั้งอยู่ในจุดต่างๆ แล้วแปลงสัญญาณส่งต่อไปยังอุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้ โดยมีอยู่ 2 ส่วนคือ

- ตู้ควบคุมหลัก ที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบแจ้งเหตุไฟไหม้ อีกทั้งยังสามารถบันทึกผลการทำงานของระบบได้

- อุปกรณ์จ่ายไฟสำรอง มีหน้าที่จ่ายไฟให้กับ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักดับ เพื่อให้ระบบยังสามารถทำงานได้ต่อไป

3.อุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้

เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณมาจากอุปกรณ์ควบคุมแล้วแสดงผลออกมาในรูปแบบสัญญาณแสง เสียงต่างๆ เช่น กระดิ่ง ไซเรน ไฟสัญญาณ ฮอร์น เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณได้รับรู้สัญญาณเตือนไฟไหม้ และอพยพออกจากพื้นที่ได้ทัน

ทั้งนี้การติดตั้งระบบป้อนกัน แจ้งเหตุ หรือแต้งเตือนไฟไหมต่างๆ ควรติดตั้งโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เนื่องจากระบบนี้ต้องมีความน่าเชื่อถือสูง เสมือนคอยรักษาความปลอดภัยให้กับอาคาร และผู้อาศัย เพื่อให้แจ้งเหตุได้ทันท่วงที และต้องพร้อมทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงสามารถช่วยลดความสูญเสียเนื่องมาจากเหตุอัคคีภัยได้อย่างดี

หากท่านต้องการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือระบบเตือนไฟไหม้ และบริการอื่นๆ เช่น บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์กว่า 30 ปี KG Engineering ยินดีให้คำปรึกษาฟรี